หมวดหมู่บทความ

ครรภ์แฝดแต่ละประเภท และการดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์แฝด



การตั้งครรภ์แฝด มีความแตกต่างกันออกไปอีกหลายประเภท ซึ่งต้องได้รับการดูแลในการตั้งครรภ์แฝดแต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป

- แฝดไข่คนละใบ หรือแฝดไข่ใบเดียวกัน แต่ใช้รกแยกกัน ควรตรวจติดตามอัลตราซาวด์เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกเทียบกันเป็นระยะ เพราะมีโอกาสที่ทารกคนใดคนหนึ่งจะตัวเล็กกว่าปกติ จากการได้รับสารอาหารจากรกไม่เท่ากัน

- แฝดไข่ใบเดียวกัน ใช้รกร่วมกัน แต่อยู่คนละถุง มีโอกาสเกิดการถ่ายเทเลือดระหว่างทารกที่ไม่เท่ากันได้ ทำให้ทารกคนหนึ่งซีดและน้ำหนักน้อยเนื่องจากเป็นคนให้เลือด ส่วนทารกอีกคนตัวแดง น้ำหนักตัวมากกว่าปกติและอาจมีภาวะบวมน้ำ เนื่องจากเป็นคนรับเลือด จึงต้องเฝ้าระวังโดยการตรวจอัลตราซาวด์เป็นระยะ

- แฝดไข่ใบเดียวกัน ใช้รกร่วมกัน และอยู่ในถุงเดียวกัน มีโอกาสเกิดสายสะดือพันกันและอาจเป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิต จึงต้องตรวจอัลตราซาวต์หลายครั้งขณะตั้งครรภ์ และอาจจำเป็นต้องให้คลอดก่อนกำหนด

- แฝดไข่ใบเดียวกัน อยู่ในถุงเดียวกัน ตัวติดกัน (แฝดสยาม) มีโอกาสเสียชีวิตสูงเนื่องจากอาจใช้อวัยวะร่วมกันบางส่วน เช่น หัวใจ สมอง ตับ การรักษาขึ้นกับส่วนของอวัยวะที่เชื่อมกัน

การดูแลตนเองของคุณแม่ครรภ์แฝด
ครรภ์แฝด เป็นครรภ์ที่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าครรภ์ปกติ เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ จึงควรมีการปรึกษาแพทย์ทันที หากพบว่าเป็นครรภ์แฝด จะได้มีการวางแผนดูแลต่อไป

สำหรับการดูแลตนเองของคุณแม่ ในช่วงอายุครรภ์ก่อน 14 สัปดาห์ ควรงดของมันที่ทำให้คลื่นไส้ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ เพราะอาจแท้งได้ง่าย หากมีอายุครรภ์มากกว่า 14 สัปดาห์ อาจมีโอกาสเจ็บคลอดก่อนกำหนดได้มาก หากมีอาการปวดท้อง จึงควรรีบไปพบแพทย์ คุณแม่ควรระวังเรื่องน้ำหนักตัว patek philippe imitacion เพราะอาจเกิดภาวะเบาหวานได้มากกว่าปกติ ซึ่งมีผลต่อความดันโลหิต และทำให้ครรภ์เป็นพิษได้

อาหารที่ควรทาน ควรเพิ่มปริมาณพลังงาน และสารอาหารที่ต้องการมากกว่าครรภ์ปกติ โดยทานให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารไม่ปรุงสุก ไม่สะอาด และเพิ่มสารอาหารเช่น กรดโฟลิก 1,000 ไมโครกรัม/วัน ธาตุเหล็ก 60-100 มิลลิกรัม/วัน และควบคุมไม่ให้น้ำหลักตัวเพิ่มขึ้นเกินกว่า 20 กิโลกรัม เพื่อความปลอดภัย

ครรภ์แฝด อาจจะดูแลยากกว่าครรภ์ปกติทั่วไป และเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่า แต่หากมีการดูแลตนเองอย่างดี หมั่นพบแพทย์ตามนัด สังเกตอาการขณะท้อง ก็จะสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย และมีความสุขกับลูกน้อยในท้องถึงสองชีวิตได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดน้ำหนักหลังคลอดได้ง่ายๆ ใน 4 วิธี

ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ก็พร้อมที่จะยอมเสียหุ่นสวยๆ ดีๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้สมบูรณ์ แ

ช่วงท้อง ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง

แม้ว่าจะอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ แต่การออกกำลังกายก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากจะช่วยให้ร่า

นมแพะ น้ำนมดีๆ สำหรับลูกน้อย

เราต่างทราบดีว่า น้ำนมที่ดี และเหมาะกับลูกน้อยมากที่สุด คือน้ำนมจากแม่นั่นเอง เด็กจึ

สีเสื้อผ้าของคุณแม่ตั้งครรภ์ ชุดคลุมท้อง กับพัฒนาการของลูกในท้อง

หากพูดว่า สีของเสื้อผ้าที่ว่าที่คุณแม่ใส่ในขณะตั้งครรภ์ ชุดคลุมท้อง จะมีผลต่อลูกน้อยในท้อง

ครรภ์เป็นพิษ อันตรายที่คุณแม่ต้องป้องกัน

ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอายุครรภ์ 5-6 เดือน ไปจนถึงหลังคลอ

7 สัญญาณของข่าวดี ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังท้อง

สาวๆ ที่ยังไม่แน่ใจว่าตนเองท้องหรือไม่ หรือกำลังท้องอยู่ก็ตาม ลองเช็คดูตามสั