หมวดหมู่บทความ

ป้องกันอาการ 7 อย่างในช่วงตั้งครรภ์


ในช่วงตั้งครรภ์ อาการผิดปกติต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้เสมอ จนบางครั้งเราไม่ทราบว่าอาการเหล่านั้นเป็นอันตรายต่อตัวคุณเอง หรือลูกน้อยหรือไม่ เราไปดูกันว่า อาการ 7 อย่าง ที่คุณควรเฝ้าระวัง และหาทางแก้ไข เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายมีอะไรบ้าง

1. ปวดท้องน้อยมักเป็นในช่วงไตรมาสที่ 1 เพราะมดลูกที่ยืดขยาย และเส้นเอ็นที่ยึดมดลูกกับกระดูกหัวหน่าว บริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้าง ถูกดึงให้ตึง ทำให้เวลาที่ต้องเคลื่อนไหว จะรู้สึกปวดท้องน้อย และเจ็บบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้าง โดยอาการข้างเคียงนี้จะไม่ส่งผลต่อลูกน้อย แต่จะทำให้แม่ไม่สบายตัว หรือกังวลกับอาการปวดท้องจนเกิดความเครียดได้ และบรรเทาอาการโดยการใช้ท่านอนหงาย งอเข่า งอสะโพก จะช่วยให้อาการปวดท้องน้อยลดลงได้

2. ขาบวมเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2-3 เกิดจากปริมาณของเหลวในร่างกายที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นอาการปกติ สามารถบรรเทาได้โดยคุณแม่หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ และพยายามนอนยกขาสูง แต่ควรปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะหากเกิดอาการขาบวมเพราะเลือดคั่งในหลอดเลือดดำส่วนลึกของขา จะเป็นอันตรายค่ะ

3. อาการแพ้ท้องเกิดในช่วงไตรมาสที่ 1 อาจจะมีอาการแพ้ท้องธรรมดา และแพ้ท้องรุนแรงโดยอาเจียนมาก หรือแพ้ท้องตลอด 9 เดือนของการตั้งครรภ์ ถ้าแพ้ท้องรุนแรงจะส่งผลให้ลูกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ตัวเล็กผิดปกติ เพราะอาหารที่ลูกได้รับไม่เพียงพอ ถ้าพบว่ามีอาการแบบนี้ต้องรีบปรึกษาแพทย์

4. หน้ามืดเป็นลม มักเกิดในช่วงไตรมาสที่ 2-3 เมื่อมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จะเอียงไปทางขวา และกดทับกับหลอดเลือดดำใหญ่ที่นำเลือดกลับสู่หัวใจ ทำให้ เลือดไหลเวียนได้น้อยและช้าลง ส่งผลให้เวลาลุกขึ้นเร็วๆ จะเป็นลมง่าย ถ้ามีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ยกของหรือเดินมากก็เป็นลมง่าย ต้องระวังภาวะโรคหัวใจที่อาจจะตามมา

5. หายใจติดขัดมักเกิดในช่วงไตรมาสที่ 2-3 คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจเร็ว หายใจตื้น เกิดจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ทำให้การหายใจเปลี่ยนไป และระดับกะบังลมเลื่อนสูงขึ้น กระตุ้นให้หายใจเร็วและตื้นขึ้น ประกอบกับช่วงตั้งครรภ์จะมีเลือดมาผ่านหัวใจมากขึ้น 40% และสรีระของคุณแม่ท้องที่เปลี่ยนไป จะเพิ่มภาระให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

6. ตกขาวมักเกิดในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ช่วงตั้งครรภ์จะมีตกขาวหรือน้ำเมือกในช่องคลอดมากกว่าปกติ ตามปกติในช่องคลอดมีเชื้อราอยู่ประมาณ 10% แต่ด้วยอิทธิพลของฮอร์โมนและปริมาณน้ำเมือกที่มากขึ้น จึงทำให้ช่องคลอดอับชื้นและอักเสบได้ง่าย โดยคุณแม่จะมีอาการคันบวมแดงที่อวัยวะเพศ มีตกขาวลักษณะเหมือนแป้งออกมามาก รวมทั้งอาการช่องคลอดอักเสบเพราะติดเชื้อจากพยาธิ โดยตกขาวจะมีสีเขียวและกลิ่นเหม็น

7. ปวดศีรษะเกิดในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายทำให้อาการไมเกรนกำเริบได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ก่อนตั้งครรภ์เป็นไมเกรนอยู่แล้ว จึงจะต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เป็นไมเกรน เช่น ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หลีกเลี่ยงอากาศ ร้อนจัด และเย็นจัด

เมื่อมีอาการผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น ทางที่ดีควรหมั่นไปพบแพทย์จะดีที่สุดนะคะ เพราะบางอาการอาจเกิดจากครรภ์เป็นพิษ ซึ่งมีความรุนแรง และส่งผลต่อตัวคุณกับลูกน้อยในท้องได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้อง แต่งตัวออกงานอย่างไรดีนะ

อีกหนึ่งปัญหาที่สาวๆ ในขณะตั้งครรภ์กลัดกลุ้มใจ นั่นคือ การออกงาน ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ เพราะไม่รู้ว่าจะแ

ลดน้ำหนักหลังคลอดได้ง่ายๆ ใน 4 วิธี

ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ก็พร้อมที่จะยอมเสียหุ่นสวยๆ ดีๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้สมบูรณ์ แ

ดำเนินชีวิตอย่างไร ให้ปลอดภัยเมื่อตั้งครรภ์

การดูแลตนเอง และดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวังในช่วงตั้งครรภ์ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ช

ลูกโป่ง ของเล่นโปรด แต่อันตรายสำหรับลูกน้อย

เวลาที่คุณพาลูกน้อยไปไหนก็ตาม เมื่อใดที่ลูกของคุณพบเห็นลูกโป่ง ก็จะเกิดอาการอยากได

อาหารอะไร ที่ไม่เหมาะกับลูกน้อยสุดที่รักของคุณ

ในปัจจุบัน มีอาหารมากมายที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อพัฒนาการของเด็กน้อย และยังมีอาหารมากมาย

ลูกน้อยเบื่ออาหาร เกิดจากอะไรนะ

เรื่องของการกิน เชื่อว่าคุณแม่ทุกคน ย่อมเตรียมอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี แต่ลูกน้อยก็ยังมีอาการเบื่ออาหาร ไม่ยอมทานอา